
ความดันโลหิตเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นจะต้องมี เพื่อให้ร่างกายสามารถนำเอาเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะมีปัจจัยรวมถึงความเสี่ยงมากมายที่จะเข้ามาทำให้ ‘ความดันโลหิต’ ที่ควรจะทำหน้าที่อย่างเต็มประสิทธิภาพเกิดความผิดปกติขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของความดันโลหิตสูงหรือความดันโลหิตต่ำที่มันมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งนอกจากความผิดปกติของความดันโลหิตจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากมายแล้ว มันก็ยังหนึ่งในสัญญาณว่าเราทุกคนอาจจะกำลังเผชิญเข้ากับโรคร้ายบางอย่างด้วยก็ได้ เช่น โรคไต, โรคต่อมไทรอยด์, หรือมีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต เป็นต้น
ดังนั้นการหมั่นสังเกตตัวเองและวัดความดันโลหิตอยู่เป็นประจำก็จะช่วยให้ทุกคนสามารถรีบเข้ารับการรักษา ตลอดจนปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสุขภาพได้มากขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ซึ่งมีความเสี่ยงและจะต้องควบคุมระดับของความดันอยู่เป็นประจำ ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันว่าค่าวัดความดันบอกอะไรเรา รวมไปถึงเรียนรู้วิธีการวัดความดันอย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อจะได้นำเอาไปใช้สำหรับใครที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรือใช้ในการวัดความดันของตัวเองกัน

ตัวเลขค่าวัดความดันบอกอะไรเรา
เพราะความดันโลหิตเป็นหนึ่งในกระบวนการภายในร่างกายที่มีความสำคัญ และทำให้เรายังคงใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เพราะฉะนั้นคำตอบของสิ่งที่หลายคนสงสัยกันมามากว่าค่าวัดความดันบอกอะไรเรานั้น ก็สามารถตอบได้เลยว่าตัวเลขมากมายที่ปรากฏขึ้นมาจากการอ่านค่าความดันนั้น มันเป็นข้อมูลที่จะช่วยบอกว่าความดันโลหิตของเรายังคงทำงานได้อย่างปกติหรือไม่ ตลอดจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติอันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้หรือไม่นั่นเอง โดยตัวเลขบนหน้าจอสำหรับใครที่ใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิทัลซึ่งได้รับความนิยมมากในสมัยนี้ก็จะประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญหลัก ๆ สองประการ ได้แก่

- ค่าตัวบน Systolic Blood Pressure : สำหรับค่าวัดความดันบอกอะไรเราในส่วนแรกก็คือค่าข้อมูลตัวบนหรือ Systolic Blood Pressure ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่อยู่บริเวณด้านบนของหน้าจอเครื่องวัดความดันเสมอ โดยค่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจบีบตัว โดยปกติแล้วควรจะมีค่าข้อมูลอยู่ที่ 120 mmHg หรืออยู่ในช่วงระกว่าง 120 – 129 mmHg ถึงจะเหมาะสมมากที่สุด
- ค่าตัวล่าง Diastolic Blood Pressure : อีกหนึ่งค่าข้อมูลที่จะทำการแสดงผลออกมาผ่านการวัดความดันโลหิตในแต่ละครั้งก็คือ Diastolic Blood Pressure ซึ่งเป็นค่าความดันที่แสดงอยู่บริเวณด้านล่างของตัวเลขบนหน้าจอเครื่องวัดความดัน โดยค่านี้จะเป็นข้อมูลของความดันในขณะที่หลอดเลือดหัวใจคลายตัว ซึ่งจะต้องมีค่าข้อมูลอยู่ที่ 80 mmHg หรืออยู่ระหว่างช่วง 80 – 84 mmHg ถึงจะเป็นค่าความดันโลหิตที่ปกติ

ค่าความดันสูงส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย
หลังจากที่เราได้รู้กันไปแล้วว่าค่าวัดความดันบอกอะไรเรา ซึ่งตัวเลขเหล่านั้นต่างก็เป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยในการวินัจฉัยโรค รวมไปถึงเป็นสัญญาณเตือนให้เราทุกคนระมัดระวังในความเสี่ยงของโรคหรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกายได้ เนื่องจากความดันโลหิตนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดความสูญเสียมากมายกับชีวิตคนเรา โดยเฉพาะความผิดปกติในลักษณะของความดันโลหิตสูงซึ่งทำให้เกิดอาการรวมไปถึงโรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น
- โรคความดันโลหิตสูง
- ปวดศีรษะ ไมเกรน
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ใจสั่น
- นอนหลับยาก
- เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นหัวใจวายได้ง่าย
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรังหรือเฉียบพลันซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

วิธีวัดความดันให้ถูกต้อง
1. เลือกใช้เครื่องวัดความดันที่มีคุณภาพ
เพื่อที่เราทุกคนจะสามารถอ่านค่าวัดความดันที่มีประสิทธิภาพและมีความคลาดเคลื่อนน้อยมากที่สุด โดยทุกคนสามารถหาซื้อเครื่องวัดความดันได้ตามร้านค้าทั่วไป หรือเลือกใช้บริการกับร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไว้ใจได้อย่าง Dowell สินค้าสุขภาพ ซึ่งมีบริการทั้งแบบหน้าร้านและบริการจัดส่งทั่วไทย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official Account
2. วัดความดันโลหิตเป็นประจำ
โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับความดันโลหิต มักจะทำการวัดความดันโลหิตในช่วงเช้าหลังตื่นนอน และช่วงก่อนเข้านอนในแต่ละวัน และจะต้องวัดซ้ำ 2 ครั้งเพื่อความแม่นยำในข้อมูล แต่สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการรู้ว่าค่าวัดความดันบอกอะไรเราก็ไม่จำเป็นจะต้องวัดด้วยอัตราความถี่ต่อวันมากเหมือนผู้ป่วยโดยทั่วไปก็ได้ แต่ให้ทำการวัดเป็นประจำเพื่อที่จะได้สามารถจดบันทึกข้อมูล ตลอดจนสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
3. อยู่ในท่าทางที่ผ่อนคลาย
ในขณะที่ทำการวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันแบบพกพาที่บ้าน ควรจะทำการวัดขณะที่อยู่ในอิริยาบถผ่อนคลาย และไม่ควรนั่งหรือยืนในท่าที่ทำให้ร่างกายรู้สึกเกร็งมากจนเกินไป เพราะฉะนั้นการนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงจึงจะช่วยให้สามารถอ่านค่าความดันที่ตรงกับความเป็นจริงได้มากที่สุด
4. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือขยับร่างกาย
ต้องจำเอาไว้ทุกครั้งว่าขณะที่ทำการวัดความดันโลหิตจะต้องไม่ทำการพูดคุย, เล่นโทรศัพท์, หรือขยับร่างกายไปมา ควรจะทำให้ร่างกายนิ่งและผ่อนคลายตัวเองให้ได้มากที่สุด เนื่องจากการกระทำเหล่านั้นจะส่งผลเป็นอย่างมากต่อความแม่นยำในการอ่านค่าความดันโลหิตนั่นเอง
5. ควรพักให้หายเหนื่อยก่อนวัดความดัน
ไม่ควรทำการวัดความดันโลหิตทันทีที่เพิ่งเสร็จจากกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ควรวัดความดันหลังจากพักเป็นอย่างน้อย 30 นาที นอกจากนั้นก็ไม่ควรทำการวัดความดันโลหิตทันทีหลังมื้ออาหารด้วยเช่นกัน