เครื่องวัดความดัน หรือ เครื่องวัดความดันโลหิตคือเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจวัดค่าความดันของกระแสเลือด โดยส่วนใหญ่มักจะใช้การบีดรัดบริเวณเส้นเลือดต้นแขนในการวัดค่าความดัน ซึ่งเกิดมาจากกระบวนการสูบฉีดเลือดบริเวณหัวใจมานั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพื่อใช้ในประโยชน์ด้านการรักษา ตลอดจนสังเกตอาการได้เองที่บ้าน ไม่ว่าจะใช้เพื่อวัดความดันของผู้ป่วยหรือวัดความดันของผู้สูงอายุก็ได้ เพราะฉะนั้นใครที่อาจจะยังใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวไม่เป็น และยังไม่รู้ว่าเครื่องวัดความดันบอกอะไรบ้าง ในบทความนี้เราได้มีคำตอบมาให้ทุกคนได้อ่านกันได้ง่าย ๆ แล้ว

เครื่องวัดความดันมีกี่ประเภท

เครื่องวัดความดันเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ติดบ้านที่สำคัญสำหรับใช้ตรวจวัดค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดัน หรือผู้สูงอายุที่จะต้องมีการระมัดระวังเกี่ยวกับค่าข้อมูลดังกล่าวอยู่เป็นประจำ ซึ่งเครื่องวัดความดันที่พบเห็นได้ทั่วไปก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. เครื่องวัดความดันแบบปรอท – Mercurial manometer

เครื่องวัดความดันชนิดแรกนี้อาจจะพบเห็นได้น้อยมากแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากมันเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ในยุคแรก ๆ ที่มีการนำเอามาใช้เพื่อตรวจวัดหาค่าความดันของมนุษย์เรา ซึ่งรูปร่างหน้าตาของเครื่องประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกล่องดินสอ ซึ่งพับเปิดปิดแท่งแก้วเพื่ออ่านค่าข้อมูลจากปรอทที่บรรจุอยู่ภายในได้ โดยการทำงานของมันจะอาศัยกลไกแรงโน้มถ่วงของโลกมาใช้เพื่อแสดงค่านั่นเอง ภายหลังเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาทดแทน เจ้าเครื่องมือดังกล่าวก็ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไปเนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เทอะทะ ใช้งานไม่สะดวก

2. เครื่องวัดความดันแบบขดลวด – Aneroid Equipment

เครื่องวัดความดันแบบขดลวดจะมีลักษณะซึ่งเป็นภาพจำของคนที่เคยพบเห็นว่าเป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยลูกยางและหน้าปัดนาฬิกา จนหลายครั้งก็มีคนเรียกเจ้าเครื่องมือตัวนี้ว่า ‘เครื่องวัดความดันหน้าปัดนาฬิกา’ ได้ด้วย การทำงานของเครื่องวัดความดันโลหิตแบบนี้จะอาศัยกลไกภายในที่ซับซ้อน ตลอดจนการบีบลมบริเวณลูกยางเพื่อการอ่านค่า มีข้อเสียคือต้องปรับเทียบค่าข้อมูลของตัวเครื่องเป็นประจำ มีราคาแพง และใช้งานค่อนข้างยาก

3. เครื่องวัดความดันแบบ Digital – Automatic Equipment

มาต่อกันที่ประเภทของเครื่องวัดความดันในรูปแบบสุดท้าย ซึ่งเป็นประเภทของเครื่องมือเพื่อใช้ในการตรวจวัดค่าความดันโลหิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือเครื่องวัดความดันแบบ Digital นอกจากเครื่องมือชนิดนี้จะใช้งานง่ายด้วยปุ่มกดเมนูต่าง ๆ ที่เห็นชัดแล้ว การแสดงค่าก็ยังมีความชัดเจนด้วยตัวเลขที่แสดงผลผ่านทางหน้าจออีกด้วย น้ำหนักเบา พกพาง่าย หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือสั่งซื้อทันทีที่ ‘Dowell สินค้าสุขภาพ’

วิธีอ่านข้อมูลจากเครื่องวัดความดัน

การอ่านค่าความดันโลหิตในปัจจุบันนี้สามารถทำได้ง่าย และไม่สร้างความสับสนให้กับบุคคลทั่วไปเหมือนเครื่องมือในอดีต เนื่องจากเครื่องวัดความดันแบบ Digital สมัยนี้มีการแสดงผลข้อมูลให้เห็นอย่างชัดเจน เพียงแค่เราทุกคนทำความเข้าใจและจำให้ได้ว่าข้อมูลที่แสดงนั้นหมายถึงอะไร และควรจะมีค่ากลางอยู่ประมาณเท่าไหร่ก็เพียงพอแล้วนั่นเอง ซึ่งข้อมูลจากการแสดงผลในเครื่องวัดความดันที่ควรรู้ก็ได้แก่

ทำไมต้องใช้เครื่องวัดความดันที่บ้าน

การใช้เครื่องวัดความดันที่บ้านอาจจะไม่ได้ครอบคลุมกับคนทุกกลุ่มในสังคมเรา แต่ก็ต้องบอกข้อเท็จจริงเลยว่าในปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งานเครื่องมือชนิดนี้ประกอบการรักษา ตลอดจนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งเครื่องวัดความดันที่บ้านหรือ Home Blod Pressure Monitoring ก็เป็นหนึ่งในเครื่องวัดความดันแบบ Digital ใช้เพื่อช่วยประเมินการรักษาในผู้ป่วยประกอบกับการไปโรงพยาบาล เป็นต้น

โดยวิธีใช้เครื่องวัดความดันที่บ้านก็ไม่ได้มีความยุ่งยาก แต่จำเป็นจะต้องมีหลักการวัดให้ถูกวิธีเพื่อให้ได้ค่าข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด เช่น จัดท่าทางให้สบาย ไม่เกร็ง เท้าทั้ง 2 ข้างจะต้องวางราบไปกับพื้น, ไม่พูดคุยหรือขยับตัวไปมาขณะที่ทำการวัดความดัน, ไม่ควรวัดความดันในทันทีที่ทำกิจกรรมออกกำลังกาย ควรพักให้ร่างกายหายเหนื่อยประมาณ 20 -30 นาที เป็นต้น

สรุป

เครื่องวัดความดันคืออุปกรณ์ซึ่งช่วยวัดและแสดงค่าผลของความดันโลหิตได้อย่างแม่นยำ โดยในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมาที่สุดก็คือรูปแบบ Digital ซึ่งการอ่านค่าข้อมูลจากเครื่องวัดความดันก็ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนในสมัยก่อน เพียงแค่ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่แสดงตามที่เราได้นำมาอธิบายเอาไว้ ก็จะสามารถรู้ได้เลยว่าค่าความดันโลหิตซึ่งเป็นปกติของคนทั่วไปจะอยู่ที่ 120/80 mmHg เพราะฉะนั้นใครที่มีญาติผู้ใหญ่เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดัน หรือมีผู้ป่วยที่จะต้องติดตามอาการประกอบการรักษาเป็นประจำ ก็สามารถสั่งซื้อเครื่องวัดความดันที่บ้านไปใช้กันได้เลย

ดูเวล สินค้าสุขภาพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *