ผู้ป่วยติดเตียงคือผู้ที่มีภาวะของโรคหรือประสบอุบัติเหตุจนทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไปได้ ผู้ป่วยลักษณะนี้จะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายไปตามสถานที่ต่าง ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เท่าที่ควร ซึ่งจะต้องทำการรักษาอาการดังกล่าวเป็นเวลานานและต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิด โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยติดเตียงมากที่สุดก็คือกลุ่มผู้สูงอายุ

เพราะฉะนั้นสำหรับครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุซึ่งมีความเสี่ยง และกำลังมองหาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้ถูกต้อง ในบทความนี้เราได้รวบรวมมาเพื่อให้ทุกคนได้นำไปปรับใช้กัน เพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางสำหรับการดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยให้เป็นไปอย่างถูกหลักการนั่นเอง

ทำไมจึงต้องศึกษาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นพิเศษ

ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะมีความทรมานจากโรคหรืออาการที่เป็นอยู่แล้วเป็นทุนเดิม บวกกับเมื่อไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติแบบที่เคยเป็นได้ก็จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ตลอดจนสภาวะความไม่มั่นคงทางอารมณ์ซึ่งแปรปรวนได้ง่ายมากขึ้นด้วย

นอกจากนั้นผู้ป่วยในลักษณะนี้ยังมีความอ่อนไหวต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการของโรคอื่น ๆ ตามมาได้ง่ายกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า, โรคเกี่ยวกับแผลกดทับ, กล้ามเนื้อลีบ, การติดเชื้อและอีกมากมาย ดังนั้นผู้ดูแลเองจำเป็นจะต้องศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงทั้งยังจะต้องทำความเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงของผู้ป่วยให้มากเป็นพิเศษ เพื่อหาแนวทางในการรักษา ป้องกัน และรับมือกับอาการที่จำเกิดขึ้นตามมา

โดยการดูแลและการฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธีนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขแล้ว ก็ยังสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้เป็นไปในแบบที่ใกล้เคียงกับคนทั่วไปมากที่สุด ลดภาระและปัญหาทางอารมณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและตัวผู้แล ตลอดจนเป็นการลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่สร้างความทรมานกับตัวผู้ป่วยได้ด้วยนั่นเอง ซึ่งแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขร่วมกันได้จะมีอะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในหัวข้อถัดไปได้เลย

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในเบื้องต้นต้องทำอะไรบ้าง

สำหรับใครที่จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรืออาจจะต้องเข้ามารับหน้าที่นี้กระทันหันโดยไม่ทันได้เตรียมตัวมาก่อน จนเกิดความสับสนไม่รู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไรดี ในบทความนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว โดยเริ่มแรกการที่จะต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้ถูกต้องนั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของสถานที่รวมไปถึงอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผู้ป่วยให้พร้อมเสียก่อน 

ไม่ว่าจะเป็นเตียงนอนสำหรับผู้ป่วย, ของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วยอย่างพวกผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่ถอดง่าย, อุปกรณ์ทำความสะอาด, ยา, และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งใครที่สนใจสินค้าและอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยติดเตียงก็สามารถสอบถามและเลือกซื้อสินค้ากับทางร้าน Dowell สินค้าสุขภาพได้เลย ซึ่งนอกจากอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยติดเตียงจะมีความสำคัญแล้วก็ยังมีแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอีกหลายประการที่ควรให้ความสำคัญ เช่น

1. จัดตารางในการดูแล ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง

2.ใส่ใจในเรื่องของการขับถ่ายและความสะอาด

3.จดบันทึกการทานยาและตรวจสุขภาพเป็นประจำ

4.หากิจกรรมหรือความบันเทิงทำเพื่อผ่อนคลายผู้ป่วย

5.พยายามฝึกให้ผู้ป่วยมีการขยับกล้ามเนื้อบ้าง

6.พูดคุยกับผู้ป่วยเป็นประจำ

7.ให้ทานอาหารตามโภชนการ ไม่ควรให้ผู้ป่วยทานอาหารย่อยยากหรือไขมันสูง

3 สิ่งที่ต้องระวังเมื่อทำการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนอกจากจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการเตรียมอุปกรณ์ของใช้และใส่ใจในเรื่องสุขภาพทั้งร่างกายตลอดจนจิตใจของผู้ป่วยให้ดีแล้ว การทำความเข้าใจรวมทั้งเฝ้าระวังความเสี่ยงของปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะพบได้ในผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือการลุกลามของปัญหาดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้ทุกคนมองข้ามไป เนื่องจากผู้ป่วยลักษณะนี้มีความอ่อนไหวและละเอียดอ่อนต่อการเกิดโรคได้ง่าย โดย 3 สิ่งที่ต้องระวังเมื่อต้องทำการดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็ได้แก่

เชื้อโรค

เชื้อโรคเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตลอดจนโรคอื่น ๆ ตามมาได้ง่ายมากที่สุด ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวของผู้ป่วยซึ่งมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ หรือจะมีการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้ดูแลและคนในครอบครัวก็ตาม เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลหรือทำความสะอาดร่างกายด้วยตัวเองได้ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับเรื่องของการขับถ่ายและการทำความสะอาด ตลอดจนเฝ้าระวังความเสี่ยงของเชื้อโรคจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ จึงเป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องให้ความสำคัญโดยห้ามประมาทเด็ดขาด

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยติดเตียงมีอยู่หลายอาการอย่างที่ได้มีการเกริ่นไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้า โดยอาการซึ่งพบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือการเกิดอาการของแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงมักจะนอนอยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดการกดทับบริเวณกล้ามเนื้อจุดเดิมซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นรอยแผลช้ำเป็นจ้ำ และอาจจะทำให้เกิดเนื้อตายกลายเป็นแผลติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นใครซึ่งกังวลในปัญหาตรงนี้ก็แนะนำให้ทำการขยับท่านอนของผู้ป่วยบ่อย ๆ หรือจะเลือกใช้งานที่นอนลมกันแผลกดทับเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการดังกล่าวก็ได้

ความเครียด

อีกหนึ่งสิ่งซึ่งผู้ทำการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษก็คือเรื่องของความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากการนอนอยู่ที่เดิมเป็นเวลานานบวกกับไม่สามารถทำกิจกรรมที่ชอบหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลยแม้กระทั่งการเข้าห้องน้ำและการขับถ่าย เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็จะต้องเกิดความรู้สึกไม่ดีขึ้นมาได้ ยิ่งถ้าปล่อยให้ความเครียดเหล่านี้สะสมเรื่อยไปจนเกิดเป็นอารมณ์ฉุนเฉียวหรือความจิตตก, หวาดระแวง, หรือวิตกกังวลก็จะยิ่งส่งผลต้อสุขภาพร่างกายรวมทั้งสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยแนวทางในการแก้ปัญหาก็คือจะต้องพยายามทำความเข้าใจผู้ป่วยและพูดคุยกับผู้ป่วยเป็นประจำนั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *